เมนู

อย่างนี้ว่า ดูก่อนช่างไม้เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4
ประการแลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัต
อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม 4 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนช่างไม้ บุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย 1
ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก 1 ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก 1 ย่อม
ไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ 1 ดูก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล
เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ
ต่อสู้ไม่ได้ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง
ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ
พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วยเหตุสักว่าความสำรวม
ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่ล่วงฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม... กล่าวความ
หมดจดด้วยความสำรวม.

ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่าง ๆ


[618] คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่
ความว่า สมาทาน ถือเอา รับ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถิวัตร (ประพฤติ
อย่างกิริยาช้าง) อัสสวัตร โควัตร อชวัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุ-
เทววัตร ปุณณภัททวัตร มณิภัททวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร
ยักขวัตร อสุรวัตร คันธัพพวัตร มหาราชวัตร จันทวัตร สุริยวัตร

อินทวัตร พรหมวัตร เทววัตร หรือทิศวัตร แล้วเข้าไปตั้งอยู่ เข้าไป
ตั้งอยู่เฉพาะ. พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่.
[619] คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐิ
นี้แหละ และความหมดจดแห่งวัตรนั้น
ความว่า ศึกษา ประพฤติเอื้อ-
เฟื้อ ประพฤติเต็มใจ สมาทานแล้วประพฤติ ในทิฏฐิ ความควร ความ
ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ.
คำว่า และความหมดจดแห่งวัตรนั้น ความว่า และความหมดจด ความ
หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น-
รอบ แห่งวัตรนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และ
ความหมดจดแห่งวัตรนั้น.
[620] คำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ ในคำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และ
กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด
ความว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ เข้าไปใกล้ภพ ติดใจอยู่ใน
ภพ น้อมใจไปในภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ. คำว่า
และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า มีวาทะว่าเป็นผู้ฉลาด มีวาทะว่าเป็น
บัณฑิต มีวาทะว่าเป็นธีรชน มีวาทะว่าเป็นผู้มีญาณ มีวาทะโดยเหตุ มี
วาทะโดยลักษณะ มีวาทะโดยการณ์ มีวาทะโดยฐานะ โดยลัทธิของตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร
แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม

ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด
แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ
และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.

[521] ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลนั้น
พลาดกรรมแล้วย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา
ถึงความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน
พวกฉะนั้น.


ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลและพรต


[622] คำว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต ความว่า
บุคคลย่อมเคลื่อนจากศีลและพรตเพราะเหตุ 2 ประการ คือย่อมเคลื่อน
เพราะความชี้ขาดของผู้อื่น 1 ไม่บรรลุจึงเคลื่อน 1.
บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความ ขาดของผู้อื่นอย่างไร ผู้อื่นย่อม
ชี้ขาดว่า ศาสดานั้นไม่ใช่เป็นสัพพัญญู ธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไม่ดี
หมู่คณะไม่ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เจริญ ปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติไม่ดี มรรค
ที่เป็นมรรคนำออกจากทุกข์ ความหมดจดก็ดี ความหมดจดวิเศษก็ดี
ความหมดจดรอบก็ดี ความพ้นก็ดี ความพ้นวิเศษก็ดี ความพ้นรอบก็ดี
ไม่มีในธรรมนั้น ชนทั้งหลายไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ
ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้นรอบ ในธรรมนั้น คือเป็นผู้เลว ทราม ต่ำ-
ช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ผู้อื่นย่อมชี้ขาดอย่างนี้ บุคคลเมื่อผู้อื่นขี้ขาด
อย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าว เคลื่อน